ดูแลสุขภาพกระดูกตั้งแต่วันนี้

กระดูกเป็นกลไกสำคัญทุกการเคลื่อนไหว การรับน้ำหนักและป้องกันอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

เพื่อนๆ มักจะเข้าใจผิดว่า กระดูกคือ อวัยวะที่แข็งแรง คงทน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว กระดูกเป็นเพียงเซลล์เนื้อเยื่อเล็กๆ ที่มารวมตัวกัน

และความจริงที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นคือ เซลล์กระดูกจะเสื่อมสลายได้ตลอดเวลา

นพ.สมบูรณ์ รุ่งพรชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์วัยยุวัฒน์ เปิดเผยว่า ร่างกายของเราประกอบไปด้วยกระดูก 206 ชิ้น ซึ่งเป็นเซลล์เนื้อเยื่อเล็กๆ ที่มารวมตัวกัน ประกอบไปด้วย 1.เซลล์เนื้อกระดูก มีหน้าที่ดูแลตรวจสอบโครงสร้างกระดูกอยู่ตลอดเวลา 2.เซลล์สลายกระดูก เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกส่วนที่สึกหรอ และ 3.เซลล์สร้างกระดูกใหม่ เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างเนื้อกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนช่วงวัย สร้างและสลายกระดูกคือ ช่วงวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น เป็นช่วงที่กระดูกพัฒนาเร็วมาก เซลล์สร้างกระดูกจะทำงานเร็วกว่าเซลล์สลายกระดูกทำให้เนื้อกระดูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ช่วงอายุ 20-25 ปีกระดูกจะมีความแข็งแรงมากที่สุด และช่วงอายุ 30-40 ปีร่างกายจะเริ่มสร้างกระดูกช้าลง กระดูกจึงค่อยๆ บางลงตามอายุที่มากขึ้น

สำหรับปัจจัยที่เร่งการสลายกระดูก ได้แก่

blog1 ภาวะการอักเสบ การอักเสบทำให้ร่างกายหลั่งสารที่เป็นตัวกระตุ้นเซลล์สลายกระดูกที่เรียกว่า RANKL เมื่อเกิดการอักเสบเรื้อรัง เซลล์สลายกระดูกจะถูกเร่งให้ออกมาสลายเนื้อกระดูกมากกว่าปกติ จนนำมาสู่โรคกระดูกพรุน

blog1 ระดับฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเพศมีหน้าที่ควบคุมการสร้างและการสลายเซลล์กระดูกให้มีความสมดุล เมื่ออายุเกิน 30 ปีระดับฮอร์โมนเพศจะเริ่มลดลงและลงลงอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่วัยทอง ส่งผลให้การส้รางช้ากว่าการสลาย ดังนั้นเราจึงหลักเลี่ยงไม่ได้ที่มวลกระดูกของเราจะลดลงเมื่อสูงวัยขึ้น

blog1 วิถีชีวิต ผู้ที่ขาดการออกกำลังงกาย นอนหลับไม่เพียงพอ ชอบกินแป้ง น้ำตาล มักจะทำให้ฮอร์โมนบางชนิดสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายเกิดสภาวะอักเสบเรื้อรัง

หลักในการต่อสู้กับโรคกระดูกพรุนมีข้อเดียวคือ ป้องกันให้เร็วที่สุด เพราะเมื่อเกิดแล้วการรักษาจะทำได้ยากกว่าการป้องกัน

การเสริมสร้างเซลล์เนื้อกระดูก ทำได้โดยการกินอาหารที่มีแร่ธาตุสำคัญต่อกระดูก เช่น แคลเซียม เป็นส่วนประกอบใหญ่ของเนื้อกระดูก ถ้าเราขาดแคลเซียมนานๆ กระดูกจะสลายตัวจนเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถรับแคลเซียมได้โดยตรงจากนมโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ปลาตัวเล็ก ไข่ ถั่ว ธัญพืช หรือกินแคลเซียมเสริม นอกจากนั้น แมกนีเซียมเป็นสารอาหารที่ทำงานร่วมกันกับแคลเซียมในการสร้างเนื้อกระดูกจึงควรกินควบคู่กันไป แมกนีเซียมมีอยู่ในอาหารจำพวกถั่ว ธัญพืช อาหารทะเล วิตามินดี ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมทั้งในกระดูกและเลือดให้สมดุล มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม สามารถเพิ่มวิตามินดีได้โดยการรับแดดอ่อนๆ ยามเช้าและช่วงเย็นวันละ 10-15 นาทีทุกวันหรือกินอาหารเสริมเฉพาะ หรืออาหารจำพวกไข่ ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรลหรือปลาทู

การชะลอการสลายเนื้อกระดูกจะมีการสลายก็ต่อเมื่อเซลล์สลายกระดูกถูกเร่งทำงาน ดังนั้น เราต้องชะลอวงจรของการสลายด้วยสารอาหารที่จะเข้ามาช่วยเสริมเพื่อลดการอักเสบในกระดูก ชะลอ และยับยั้งการทำงานของเซลล์สลายกระดูก การป้องกันโรคกระดูกพรุนจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสารอาหารที่ช่วยชะลอวงจรของการสลาย ได้แก่ สารสกัดจากผลทับทิมและเมล็ดองุ่น โดยสารสกัดทั้งสองชนิดนี้จะเข้าไปจับ RANKL เพื่อตัดตอนไม่ให้เข้าไปสั่งการเซลล์สลายกระดูก ช่วยชะลอการสลายได้เป็นอย่างดี และสารสกัดทั้งสองยังทำงานร่วมกับแคลเซียม แมกนีเซียมและวิตามินดีในการเสริมสร้างและป้องกันกระดูกพรุนได้อีกด้วย

อ้างอิง : M2F ฉบับวันที่ 24 พ.ค. 59

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

Blog at WordPress.com.

Up ↑