อากาศร้อนตลอดเวลาแบบนี้ เพื่อนๆ มักเลือกเครื่องดื่มเย็นๆ ที่ช่วยดับกระหายกันใช่ไหมคะ
ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม กาแฟเย็น น้ำผลไม้ปั่นหรือน้ำแข็งไส
ซึ่งมีน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบ
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำแข็งแบบไหนที่ปลอดภัย
ดื่มแล้วห่างไกลจากอาการอาหารเป็นพิษและท้องร่วง
จากการสุ่มตรวจของสำนักอนามัยกทม. พบว่าน้ำแข็งที่จำหน่ายในร้านอาหาร 64.62% ของตัวอย่างมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะเชื้อ Coliforms (เป็นแบคทีเรียที่เติบโตได้ทั้งมีอากาศและไม่มีอากาศ ไม่ทนความร้อน สามารถทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนระดับการพาสเจอไรซ์ ไม่ผลิตเอนไซม์ออกซิเดส มักพบในลำไส้ของสัตว์เลือดอุ่น แต่โคลิฟอร์มอีกหลายชนิดก็มีแหล่งที่พบในดิน แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์มส่วนใหญ่ไม่ใช่จุลินทรีย์ก่อโรค แต่ปริมาณของโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ใช้เป็นดัชนี้ชี้สุขาภิบาลอาหาร และน้ำ การพบโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและน้ำปริมาณมาก บ่งชี้ถึงความไม่สะอาด ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจมีการปนเปื้อนของอุจจาระของคน ) ซึ่งก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร ท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ปวดศรีษะ หรือรุนแรงจนเสียชีวิตได้ โดยน้ำแข็งที่พบการปนเปื้อนมากที่สุดคือ น้ำแข็งที่ขนส่งโดยถุงกระสอบ พบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ถึง 31.5% เนื่องจากกระบวนการป่นน้ำแข็งผ่านการใช้เครื่องจักร ใบมีกที่ไม่มีความสะอาดพอ อาจมีสนิม ตะไคร่และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ นอกจากนี้กระบวนการการส่งน้ำแข็งมักพบคราบดิน ฝุ่นผงและอื่นๆ ปนเปื้อน
สำหรับวิธีเลือกกินน้ำแข็งให้ปลอดภัยควรเลือกน้ำแข็งที่อยู่ใรบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด ไม่มีรอยรั่วให้อากาศและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปได้ สังเกตที่ถุงบรรจุต้องมีเครื่องหมาย อย. และมีข้อความตัวอักษรสีน้ำเงินระบุชัดเจนว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้”
หากต้องกินอาหารที่ร้านอาหารควรเลือกดื่มน้ำแช่เย็นบรรจุขวดที่มีฝาปิดมิดชิด หลีกเลี่ยงการผสมน้ำแข็งป่นให้เลือกน้ำแข็งหลอดหรือน้ำแข็งยูนิตที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนน้อยกว่าและสังเกตความสะอาดของอุปกรณ์รอบตัว อาทิ แก้ว หลอด จาน ช้อน ตู้เก็บน้ำแข็ง กระติกใส่น้ำแข็ง
นอกจากนี้ควรงดการกินอาหารที่เสียงต่อการบูดง่ายในหน้าร้อน เช่น อาหารหรือขนมที่มีส่นผสมของกะทิ หรือข้าวกล่องที่บรรจุไว้หลายๆ ชั่วโมง และอาหารสุกๆ ดิบๆ เป็นต้น
อ้างอิง : M2F ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 59
Foodnetwork (http://bit.ly/23HB1ot)
Leave a Reply