เรื่องของสุขภาพไตนั้นเพื่อนๆ คงทราบกันดีว่าได้มีรณรงค์กันมาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งมิสโอเองก็พบว่าการที่จะเสี่ยงเป็นโรคไตนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น
ยิ่งในเมืองกรุงที่บางคนจะต้องใช้ชีวิตด้วยข้าวกล่องแช่แข็ง
หรืออาหารที่มีรสจัดเป็นประจำ เนื่องจากไม่มีเวลา
ปัจจุบันสถานการณ์โรคไตทั่วโลก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ สำหรับในประเทศไทย ข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยพบว่าผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) ที่ต้องรองรับการบำบัดทดแทนไต เช่น ล้างไต และเปลี่ยนไตอยู่เป็นจำนวนมาก
ในแต่ละปีจะมีคนป่วยด้วยโรคไตเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 7,000-10,000 คน จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยมักจะมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไตค่อนข้างมาก ทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษา
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไตมีอายุน้อยลงไปเรื่อยๆ สาเหตุอาจเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา ต้องกินอาหารนอกบ้าน อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วนต่างๆ ซึ่งมีการปรุงแต่งโดยคำนึงถึงรสชาติมากกว่าสุขภาพของผู้บริโภค
นพ.สุรวัฒน์ อดิเรกเกียรติ อายุรแพทย์โรคไต รพ.ปิยะเวท ให้ความรู้ว่า หน้าที่สำคัญของไต คือการขับของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ ไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การส้รางวิตามินดี เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย รวมถึงการสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทินเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและการหลั่งเอนไซม์เรนนินซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต
ส่วนอาการของโรคไต เริ่มตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย หรือบางคนมีอาการบวม ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน โลหิตจาง อ่อนเพลีย จนกระทั่งมีการคั่งของของเสีย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดภาวะชักและหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติและเสียชีวิตตามมาได้
จากสถิติของคนไข้โรคไตในผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไตอักเสบ นอกจากนั้นสาเหตุอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ นิ่วในไต เกาต์ หรือยาที่มีผลกระทบต่อไต เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตยรอยด์ที่เรียกว่า NSAID และกลุ่มยาสมุนไพรที่ไม่ทราบสรรพคุณแน่ชัด
สำหรับการรักษานั้นในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรหมั่นพบแพทย์ให้สม่ำเสมอเพื่อปรับยาและช่วยชะลอความเสื่อมของไต ควรควบคุมเบาหวาน ความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนคนทั่วไปที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงควรออกกำลังกาย แนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปี หลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดอาหารเค็ม เพราะไตจะทำงานหนัก ทำให้ตัวบวมและมีความดันโลหิตสูง
เรื่องของสุขภาพจำเป็นต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง
คอยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ร่างกายทำงานปกติ
มิสโอเชื่อว่าตอนนี้เพื่อนๆ หลายคนหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น
มิสโอขอแนะนำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอค่ะ
เพราะตอนนี้มีตัวช่วยในเรื่องของการออกกำลังกายมากขึ้น
สามารถออกกำลังกายได้สะดวกโดยไม่ต้องเสียเวลาเข้ายิมส์ หรือฟิตเนส
อยากออกเวลาใดก็ได้ ขอเพียงเพื่อนๆ มีความตั้งใจแน่วแน่ค่ะ
(เอ็กซ์ไบค์ จักรยานออกกำลังกายระบบแม่เหล็ก แบบพับได้)
(AVENTO HEALTH CLUB เครื่องออกกำลังกายอเนกประสงค์ รุ่น S-1000)
(แอร์วอร์ค เครื่องวิ่งออกกำลังกายแบบวงรี)
(โค้ชเช จักรยานออกกำลังกาย เอ็มสปิน)
(เจสัน เอ็กซ์วีล อุปกรณ์ออกกำลังกายหน้าท้อง)
อ้างอิง : M2F ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2559
Leave a Reply