7 อาหารเสริมที่ช่วยควบคุมระดับคลอเลสเตอรอล
คลอเลสเตอรอลสูงมีผลเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ
การรักษารวมถึงการปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายจะช่วยรักษาระดับคลอเลสเตอรอลได้
มิสโอเชื่อว่าเพื่อนๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสาวๆ มีความกังวสลเกี่ยวไขมันส่วนเกิน
หรือคลอเลสเตอรอลในร่างกาย
จึงกำลังมองหาอาหารเสริมที่ช่วยดูแลในเรื่องนี้อยู่แต่เพื่อนๆ
บางคนกลับมองว่ามันไม่สำคัญหรือไม่รู้ตัวว่าตัวเองอาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีคลอเลสเตอรอลส่วนเกิน
ดังนั้นอย่าลืมไปตรวจสุขภาพกันด้วยนะคะ
และบทความนี้มิสโอจะแนะนำถึงสารอาหารเสริมเพิ่มเติมที่ช่วยในการควบคุมคลอเลสเตอรอลลงได้ค่ะ
มีอะไรบ้างไปอ่านกันเลย
กระเทียม: กระเทียมเป็นสิ่งที่ยอดยเยมในเรื่องการรักษาระดับคลอเลสเตอรอลในธรรมชาติได้ดีที่สุด สารสกัดจากกระเทียมสามารถนำมาแปรเป็นรูปแบบของแคปซูล แต่ก็ควรระวังในการใช้ตามการแนะนำของแพทย์
Coenzyme Q10 (Ubiquinone) : การเปลี่ยนสารต้นอนุมูลอิสระเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยปรับปรุงสุขภาพของเส้นเลือด แต่หากเพื่อนๆ มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน สารอาหารนี้ก็ยังสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดแต่การใช้งานก็ต้องมีการปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด
ไฟเบอร์ : ทุกวันนี้เส้นใยอาหารจัดเป็นสารอาหารประเภทที่ 6 เส้นใยอาหารทำหน้าที่ป้องกันท้องผูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่เรากลับมองข้ามความสำคัญของมันไปในแง่ขจัดคลอเลสเตอรอลออกจากร่างกาย เส้นใยอาหารมีทั้งประเภทที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ การจะลดคลอเลสเตอรอลควรใช้ชนิดละลายในน้ำจะมีประสิทธิภาพดี เส้นใยอาหารชนิดละลายเป็นน้ำจะดูดซึมคลอเลสเตอรอลและกรดน้ำดีไว้ จากนั้นถูกขับถ่ายออกมาพร้อมกับอุจจาระ เมื่อกรดน้ำดีถูกขับออกจากร่างกายตับจึงต้องสร้างกรดน้ำดีใหม่โดยใช้คลอเลสเตอรอลในเลือด เหตุนี้ปริมาณคลอเลสเตอรอลในเลือดจึงลดลง จอกจากนี้ยังขัดขวางการดูดซึมน้ำตาล ทำให้เกิดไขมันชนิดเป็นกลางยากขึ้นอีกด้วย
โอเมก้า 3 : น้ำมันปลาโอเมก้า 3 ช่วยในการลดไตรกลีเซอไรด์ มันเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขภาพของหลอดเลือดเช่นเดียวกันกับการลดการอักเสบ แต่ควรระวังว่าโอเมก้า 3 นั้นสามารถเจือจางเลือดดังนั้นถ้าเพื่อนๆ กินยาที่มีฤทธิ์เจือจางเลือดอยู่ก็ควรลดการใช้โอเมก้า 3 ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมไปด้วย
ขมิ้น : ขมิ้นมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและลดระดับคลอเลสเตอรอลและการอักเสบเช่นกัน โดยสามารถนำผงขมิ้นมาโรยในมื้ออาหารแต่ละมื้อได้ ข้อควรระวังหากเพื่อนๆ กำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์ช่วยเจืองจางเลือดอยู่แล้วก็ควรลดการใช้ขมิ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากขมิ้นมีฤทธิ์ช่วยเจือจางเลือด
ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) : ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols) มี 2 ประเภทใหญ่ คือ สเตอรอล(Sterol) และสตานอล(Stanols) ไฟโตสเตอรอล อาจเรียกว่า plant sterol เป็นสเตอรอล (sterol) ที่ผลิตโดยพืช เช่น ซิโตสเตอรอล (sitosterol) และสติกมาสเตอรอล (stigmasterol) โดยสเตอรอล จะพบได้น้อยในธรรมชาติ โดยไฟโตสเตอรอลมีประโยชน์ในการลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว(LDL) และการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสเตอรอลและสตานอล จะเข้ายับยั้งการดูดซึม ควบคุมปริมาณการละลายและการย่อยคอเลสเตอรอลในลำไส้ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ คือ เข้าแข่งขันการดูดซึมกับคอเลสเตอรอล ทำให้คอเลสเตอรอลถูกดูดซึมไม่ได้ จึงใช้เป็นสารลดคอเลสเตอรอล
ข้าวยีสต์แดง (Red Yeast Rice) : ใน Red Yeast Rice มีจุลินทรีย์ในกลุ่มโมแนสตัส ที่สามารถสร้าง Monacolins ได้ โดยเจ้า Monacolins นั่นมีคุณสมบัติเสมือนกับยาลดไขมันในกลุ่ม Statin ที่ชื่อ Lovastatin ซึ่งจากงานวิจัยพบว่ามีบทบาทสำคัญในการยับยั้งไม่ให้เอนไซม์ HMG Co-A reductase (เอ็ชเอ็มจี โคเอรัดักเทส) ออกฤทธิ์และสังเคราะห์คลอเรสเตอเรอลในตับได้ จึงเป็นเหตุให้สามารถยับยั้งและลดคลอเรสเตอรอล
สารอาหารเพิ่มเติมสามามารถหาซื้อได้ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่ทั้งนี้ควรได้รับการแนะนำจากแพทย์เสียก่อนนะคะ เพราะการกินสารอาหารเพิ่มบางตัวก็อาจมีผลยับยั้งหรือทำลายสารอาหารตัวอื่นที่อยู่ในร่างกายไปด้วย
มิสโอหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ ที่กำลังมองหาตัวช่วยในการลดระดับคลอเลสเตอรอล แต่ขอย้ำว่าก่อนใช้อาหารเสริมเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนนะคะ
Cr. https://www.wholesomeone.com/news-articles/supplements-high-cholesterol
Leave a Reply